วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไตรโคเดอร์มา เชื้อราปฏิปักษ์

    เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราชั้นสูงที่ดำรงชีวิตอยู่ในดิน
อาศัยเศษซากพืช ซากสัตว์และอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร
  เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อราหลายชนิด สร้างเส้นใย
สีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่ เรียกว่า “โคนิเดีย” หรือ “สปอร์”
จำนวนมากรวมเป็นกลุ่มหนาแน่นจนเห็นเป็นสีเขียว
เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรค
พืชหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียน หรือเป็นปรสิต และแข่งขัน
หรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ
         นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถผลิตปฏิชีวน
สาร และสารพิษ ตลอดจนน้ำย่อยหรือเอนไซม์สำหรับช่วย
ละลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคพืช คุณสมบัติพิเศษของเชื้อ
ราไตรโคเดอร์มาคือ สามารถช่วยละลายแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่
เป็นประโยชน์ต่อพืช จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
และชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อรา
และแบคทีเรียสาเหตุโรค
          จากผลการดำเนินงานวิจัยตั้งแต่ พ.ศ.2528 ถึงปัจจุบัน
สามารถคัดเลือกเชื้อราไตรโคเดอร์มาจากดินในธรรมชาติได้
หลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ CB-Pin-01 มีประสิทธิ
ภาพสูงในการควบคุมโรคของพืชเศรษฐกิจต่างๆทั้งพืชไร่
ไม้ผล พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดได้ในสภาพ
แปลงเกษตรกร ทั้งโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น
โรคเมล็ดเน่า โรคเน่าระดับดิน (โรคกล้ายุบ) รากเน่า หัวหรือ
แง่งเน่า และโคนเน่า เป็นต้น โรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่
เหนือดินไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กิ่ง ผล ใบ หรือดอก เช่น
โรคลำต้นไหม้ของหน่อไม้ฝรั่ง โรคแคงเกอร์ของมะนาว
โรคราดำของมะเขือเทศ โรคใบปื้นเหลืองและโรคดอกสนิม
ของกล้วยไม้ โรคแอนแทรคโนสของมะม่วงและพริกทั้งก่อน
และหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังสามารถใช้เชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่าของพืชผักสลัดและผักกิน
ใบต่างๆที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร (ระบบไฮโดรโพนิกส์)
และจากผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อน
ใช้หว่านลงในนาข้าว ช่วยลดการเกิดโรคเมล็ดด่าง เมล็ดลีบ
ของข้าวที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราหลายชนิด
ตลอดจนช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และน้ำหนักเมล็ด และเพิ่ม
ผลผลิตต่อไร่ได้ด้วย

ผู้วิจัยได้พัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาให้อยู่ในรูป
ผงหัวเชื้อบริสุทธิ์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตขยายเชื้อรา
ไตรโคเดอร์มาชนิดสดไว้ใช้ได้เองตามต้องการ ด้วยการหุง
ปลายข้าวให้สุกในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า อัตราปลายข้าว 3 ส่วน
น้ำ 2 ส่วน ตักใส่ถุงพลาสติกแล้วใส่ผงหัวเชื้อลงไปเล็กน้อย
บ่มไว้ 5-7 วัน ก็สามารถนำเชื้อสดไปใช้ได้ ขณะนี้ได้พัฒนา
เชื้อสดดังกล่าวให้เป็นชีวภัณฑ์ในรูปน้ำและรูปผงแห้งผสม
น้ำเพื่อใช้พ่นส่วนต่างๆของพืชและพ่นลงดินได้ ผงหัวเชื้อ
บริสุทธิ์นี้มีสปอร์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มาในปริมาณไม่น้อย
กว่า 100 ล้านหน่วยชีวิต (สปอร์) ต่อผงเชื้อ 1 กรัม สามารถ
เก็บรักษาได้เป็นระยะเวลานานไม่น้อยกว่า 1 ปีถ้าเก็บไว้ใน
ตู้เย็น (ประมาณ 8-10 องศาเซลเซียส) แต่ถ้าเก็บที่อุณหภูมิ
ในห้องปกติ (25-30 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บไว้ได้นาน
 6 เดือน





















การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด สามารถใช้ได้หลายวิธี
ตามโอกาสและความสะดวกของเกษตรกร เช่น ใช้เชื้อสดผสม
กับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์ในสัดส่วน 1:4:100 โดยน้ำหนัก
สำหรับใส่หลุมปลูก อัตรา 10-20 กรัม (1-2 ช้อนแกง) คลุกเคล้า
กับดินในหลุมปลูกพืช ก่อนการหยอดเมล็ดพืช หรือหว่านลงแปลง
ปลูก ด้วยอัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือใช้ผสมรวมกับ
วัสดุปลูกสำหรับการเพาะกล้าโดย ใส่ส่วนผสมของเชื้อสด
+ปุ๋ยอินทรีย์ ผสมร่วมกับดินหรือวัสดุปลูกอัตรา 1: 4 โดยปริมาตร
 (20%) นำดินหรือวัสดุปลูกที่ผสมด้วยส่วนผสมของเชื้อสดแล้ว
ใส่กระบะเพาะเมล็ด ถุงหรือกระถางปลูกพืช กรณีของการคลุก
เมล็ดพืชก่อนปลูก สามารถใช้เชื้อสดล้วนๆ อัตรา 10 กรัม
 (1 ช้อนแกง) ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เติมน้ำ 10 ซีซี และถ้าต้องการ
เชื้อสดในรูปน้ำสามารถใช้เชื้อสดผสมน้ำในอัตรา 100 กรัม
 ต่อน้ำ 20 ลิตร กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอนตาถี่ จะได้เชื้อ
ชนิดน้ำสำหรับใช้พ่น ราด รดลงดิน หรือพ่นส่วนบนของต้นพืช
 หรือใช้ปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช และ
ใช้แช่ส่วนขยายพันธุ์พืช เช่นเมล็ด หัว เหง้า แง่ง ท่อนพันธุ์ ก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: